ในวรรณกรรม สามก๊ก ของ เตียวก๊ก

เตียวก๊กปรากฏเป็นตัวละครในนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในตอนที่ 1 ของนิยาย ตรงกับในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 1 ตามความดังนี้

ฝ่ายเมืองกิลกกุ๋นนั้น มีชายพี่น้องสามคน ชื่อเตียวก๊กหนึ่ง เตียวโป้หนึ่ง เตียวเหลียงหนึ่ง แลเตียวก๊กนั้นไปเที่ยวหายาบนภูเขา พบคนแก่คนหนึ่ง ผิวหน้านั้นเหมือนทารก จักษุนั้นเหลืองมือถือไม้เท้า คนนั้นพาเตียวก๊กเข้าไปในถํ้าจึงให้หนังสือตำราสามฉบับ ชื่อไทแผงเยาสุด แล้วว่าตำรานี้ท่านเอาไปช่วยทำนุบำรุงคนทั้งปวงให้อยู่เย็นเป็นสุข ถ้าตัวคิดร้ายมิซื่อตรงต่อแผ่นดิน ภัยอันตรายจะถึงตัว เตียวก๊กกราบไหว้แล้วจึงถามว่าท่านนี้ชื่อใด คนแก่นั้นจึงบอกว่า เราเป็นเทวดา บอกแล้วก็เป็นลมหายไป ฝ่ายเตียวก๊กก็กลับมาบ้าน จึงเรียนตามตำราทั้งกลางวันกลางคืน ก็เรียกลมเรียกฝนได้สารพัดทุกประการ จึงตั้งตัวเป็นโต๋หยิน แปลภาษาไทยว่าพราหมณ์มีความรู้ [6]

จากนั้นเตียวก๊กจึงเริ่มการก่อการกบฏโพกผ้าเหลืองร่วมกับน้องชาย ในนิยายกล่าวถึงเตียวก๊กเพียงไม่กี่ครั้ง การเสียชีวิตของเตียวก๊กถูกกล่าวถึงในข้อความในตอนที่ 2 ของนิยาย (ตรงกับในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 1) ว่า "บัดนี้ฮองฮูสงยกพลไปรบกับเตียวก๊ก เตียวก๊กตายก่อนแล้ว" [6] ในนิยาย เตียวโป้น้องชายของเตียวก๊กไม่ได้เสียชีวิตในการรบกับกองทัพหลวง แต่ถูกลอบสังหารโดยลูกน้องชื่อลำแจ้ง (嚴政) ซึ่งตัดศีรษะของเตียวโป้แล้วไปสวามิภักดิ์ต่อกองทัพหลวง [7]

ใกล้เคียง